นโยบายสวัสดิการสังคมของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (State’s social welfare policy under the constitution of the Kingdom of Thailand)

  • Nopphamat Ratana Student, Ph.D program, Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

 

บทคัดย่อ


บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพัฒนาการสวัสดิการสังคมของรัฐตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน และ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสวัสดิการสังคมภาครัฐตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540, 2550 และ 2560 โดยการวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ และเก็บข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ภาครัฐมุ่งสร้างสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน โดย ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการมุ่งเน้นให้ประชาชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสิทธิที่พึงจะได้รับ แต่การขาดเสถียรภาพทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2475-2500 ทำให้การจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชนสะดุด ไม่สามารถถูกนำไป ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง  ดังนั้น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ผ่าน มา นอกจากจะเป็นเครื่องมือกำหนดโครงสร้างของรัฐแล้ว ยังเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนอีกด้วยนั้น เมื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญอย่างครอบคลุมและมีพระราชบัญญัติกำหนดขั้นตอนทางปฏิบัติก็จะทำให้ระบบกฎหมายของภาครัฐสามารถคุ้มครองประชาชนได้เต็มศักยภาพ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีไว้เพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชน ตลอดจนถึงผลประโยชน์ของประชาชนอีกด้วยนั้น ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ก็รับรองหลักความเสมอภาคห้ามเลือกปฏิบัติ และรับรองสิทธิเสรีภาพไว้หลายประการ แต่ถึงอย่างไรก็ยังขาดความชัดเจนในบางประเด็น เต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมาย และมีรายละเอียดหลายประการที่ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไปจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 และ 2550 ดังนั้น หากเรามองว่า “สวัสดิการสังคม” เป็นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิต้องได้รับการคุ้มครองจากภาครัฐ รวมทั้งการออกแบบให้มีโครงสร้างด้านสวัสดิการสังคมไว้ในรัฐธรรมนูญได้นั้นจะเป็นหนทางที่จะสร้างหลักประกันด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เป็นรูปธรรมที่สุด แต่ทางเลือกของสวัสดิการสังคมที่ดีขึ้นอย่างทัดเทียมกันและถ้วนหน้าย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การหาแหล่งรายได้เพื่อมาสนับสนุนสวัสดิการสังคมนั้นรัฐอาจทำได้โดยการลดด้านรายจ่ายหรือการเพิ่มด้านรายได้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถตอบสนองการจัดสวัสดิการสังคมให้กับประชาชนได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด


คำสำคัญ: สวัสดิการสังคม; รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย; นโยบายภาครัฐ


 Abstract


The research objectives of this article are (1) to study the development of social welfare of the state according to the provisions of the Constitution of the Kingdom of Thailand since the change of government in 1932 to the present, and (2) to compare the social welfare of the public sector. According to the provisions of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540, 2550 and 2560, this research uses qualitative research and collects data by researching documents. The results showed that: After the change of government in 1932, the government aimed to create basic welfare for the people equally. This is considered the starting point of focusing on people to have a good quality of life according to their rights. But political instability during the years 1932-1957 caused the provision of welfare to the people to be interrupted, cannot be carried out continuously. Therefore, in the past constitution of the Kingdom of Thailand. In addition to being a tool to determine the structure of the state.  It also guarantees the rights and liberties of the people as well. When people's rights and liberties are comprehensively guaranteed in the constitution and there are acts that prescribe procedures, the government's legal system can protect the people to their full potential. That is, the constitution is a law intended to guarantee and protect the rights and liberties of the people. As well as the interests of the people as well. Which in the 2017 constitution also certifies the principle of equality, prohibiting discrimination and guarantees many rights and liberties. However, there is still a lack of clarity on some issues, full of limitations and there are many details that have been changed from the 1997 and 2007 constitutions. Therefore, if we look at "social welfare" as the basis that all citizens have the right to be protected by the government. Including designing a social welfare structure in the constitution is the most concrete way to guarantee the quality of life of the people. But better, more equitable and universal social welfare options will come at an additional cost. Therefore, in finding a source of income to support social welfare, the state may do so by reducing expenditure or increasing income as efficiently as possible. Therefore, it will be able to respond to the provision of social welfare for the people as completely as possible.

Published
Aug 18, 2023
How to Cite
RATANA, Nopphamat. นโยบายสวัสดิการสังคมของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (State’s social welfare policy under the constitution of the Kingdom of Thailand). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 185-213, aug. 2023. ISSN 2630-0133. Available at: <http://202.41.160.104/index.php/MPA/article/view/353>. Date accessed: 15 nov. 2024.