การพัฒนาคุณภาพชีวิตภายใต้ยุคความปกติใหม่ (Quality of life development in the New Normal age )

กรณีศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( A case study of employee of Faculty of Allied Health Sciences, Chulalongkorn University

  • Anong Tantisuwat Student, Master of Public Administration Program
  • Ratthasirin Wangkanond Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) สภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) แนวทางหรือข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตภายใต้ยุคความปกติใหม่ ของบุคลากรมหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า ตามองค์ประกอบคุณภาพชีวิต 4 ด้านขององค์การอนามัยโลก พบว่า บุคลากรมีคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และตามองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงาน 8 ด้าน พบว่า บุคลากรมีคุณภาพชีวิตการทำงานด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ ด้านสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ด้านโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ ด้านความก้าวหน้าและมั่นคง ด้านความสัมพันธ์อันดีในการทำงานร่วมกัน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว และด้านความภูมิใจองค์การที่มีคุณค่าทางสังคมอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านลักษณะการบริหารอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีความเห็นตรงกันว่าควรจะพัฒนาด้านสภาพแวดล้อมและด้านลักษณะการบริหารมากกว่าด้านอื่น เนื่องจากการพัฒนาด้านสภาพแวดล้อมจะทำให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บุคลากรสามารถสร้างประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการพัฒนาด้านลักษณะบริหาร จะทำให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์การ


Abstract


           This research was a qualitative research. The objectives were to study 1) quality of life development 2) conditions of problems and obstacles in quality of life development and 3) guidelines or recommendations for quality of life development under the new normal era of the personnel at Faculty of Allied Health Sciences, Chulalongkorn University. Data were collected from documents and from semi-structured interviews 12 key informants. The research results showed that according to the 4 quality of life components of the World Health Organization, it was found that personnel had good quality of life in terms of physical, mental and social relations. The environmental aspect is moderate. And according to the quality of working life components in 8 areas, it was found that personnel had a quality of working life in terms of fair and adequate compensation, safe and hygienic environment, opportunities for potential development progress and stability good relationship in working together. On work-life balance and personal life and the pride of the organization that has social value is at a good level. The aspect of management was moderate. The key informants agreed that the environment and management aspects should be developed more than others. It is because the development of the environment will make personnel have a better quality of life. Thus, personnel can benefit themselves, their families, society and the nation with efficiency and effectiveness. Therefore, the development of management characteristics will make personnel have a better quality of work life affecting the performance of the organization.

Published
Apr 5, 2023
How to Cite
TANTISUWAT, Anong; WANGKANOND, Ratthasirin. การพัฒนาคุณภาพชีวิตภายใต้ยุคความปกติใหม่ (Quality of life development in the New Normal age ). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 342-374, apr. 2023. ISSN 2630-0133. Available at: <http://202.41.160.104/index.php/MPA/article/view/339>. Date accessed: 15 nov. 2024.