การนำระบบ เอ.ที.เอ. คาร์เนท์ มาใช้กับการปฏิบัติพิธีการศุลกากร นำเข้า - ส่งออกชั่วคราว (Implementation of A.T.A. Carnet for customs temporary admission procedures )

กรณีศึกษา สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (A case study of Suvarnabhumi Airport Passenger Control Customs Office, The Customs Department, Ministry of Finance)

  • Nattapat Kaisith Student, Master of Public Administration Program
  • Supatra Amnuaysawasdi Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


              การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการนำระบบ เอ.ที.เอ. คาร์เนท์ มาใช้กับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำเข้า - ส่งออกชั่วคราว ของ สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำระบบ เอ.ที.เอ. คาร์เนท์ มาใช้กับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำเข้า-ส่งออกชั่วคราว และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข ของพนักงานศุลกากรในการปฏิบัติพิธีการ เอ.ที.เอ. คาร์เนท์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ  ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ประกอบด้วย1.วัตถุประสงค์หรือมาตรฐานของนโยบาย 2.ทรัพยากร 3.การสื่อสารระหว่างองค์การและกิจกรรม 4.ลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ 5.สภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง 6.ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคของพนักงานศุลกากรในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำเข้า-ส่งออกชั่วคราว ภายใต้ระบบ เอ.ที.เอ. คาร์เนท์ ได้แก่ 1.ปัญหาด้านการสื่อสาร 2.ปัญหาด้านทรัพยากร 3.ปัญหาด้านจำนวนบุคลากรที่มีไม่เพียงพอ 4.ปัญหาบุคลากรขาดความเชี่ยวชาญทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน 5.ปัญหาอุปสรรคด้านกระบวนการทำงาน 6.ปัญหาด้านระบบสารสนเทศของหน่วยงาน แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของพนักงานศุลกากรในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำเข้า - ส่งออกชั่วคราว ภายใต้ระบบ เอ.ที.เอ. คาร์เนท์ 1.สร้างการสื่อสารที่ชัดเจน 2.การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องทรัพยากร 3.เพิ่มอัตรากำลังให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 4.ควรมีการฝึกอบรมความรู้อย่างต่อเนื่อง 5.จัดทำเอกสารตัวอย่างรวมถึงการทำคู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงาน 6.พัฒนาระบบ เอ.ที.เอ คาร์เนท์ ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์


Abstract


            This research is to study the application of the A.T.A. Carnet system to the temporary import-export customs formalities at Suvarnabhumi Airport Passenger Customs Inspection Office. The objectives are 1) to study the process of applying the A.T.A. Carnet system to temporary import-export customs formalities. 2) to study the problems and obstacles of customs officers in performing A.T.A. Carnet formalities; 3) to study a solution to problems and obstacles of customs officers in performing the A.TA. Carnet formalities by using qualitative research. The study found that factors that affect the success of policy implementation include: 1.objectives or standards of policies 2. resources 3. communication between organizations and activities 4. characteristics of agencies that implement policies 5. social, economic and political conditions and 6. attitudes of operators. Problems and obstacles of customs officers in performing import-export customs formalities under the A.TA. Carnet system are as follows: 1. communication problems 2. resource issues 3. problem of insufficient number of personnel 4. personnel problems lack expertise and skills necessary for operations. 5. problems and obstacles in the work process and 6. problems in the information system of the agency. Solutions for problems and obstacles of customs officers in performing import-export customs procedures under the A.T.A. Carnet system are 1. create clear communication. 2. coordination with related agencies in terms of resources 3. increase the rate of manpower to be sufficient for the job. 4. there should be continuous knowledge training. 5. preparation of sample documents, including a manual for operating procedures and 6. developing the A.TA. Carnet system to be an electronic system.

Published
Apr 5, 2023
How to Cite
KAISITH, Nattapat; AMNUAYSAWASDI, Supatra. การนำระบบ เอ.ที.เอ. คาร์เนท์ มาใช้กับการปฏิบัติพิธีการศุลกากร นำเข้า - ส่งออกชั่วคราว (Implementation of A.T.A. Carnet for customs temporary admission procedures ). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 287-318, apr. 2023. ISSN 2630-0133. Available at: <http://202.41.160.104/index.php/MPA/article/view/336>. Date accessed: 15 nov. 2024.