การเมือง - ประชาธิปไตย - คอมมิวนิสต์ (Politics - Democracy - Communism)

การเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ทั้งสามผ่านสายตาของฌอง-ลุค นองซี (Jean-Luc Nancy’s philosophical concept)

  • Kamolaka Jittaruttha คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

บทคัดย่อ


            สภาพการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันทั้งในไทยและต่างประเทศเป็นเสมือนข้อพิสูจน์ต่อปัญหาของคำว่า “ประชาธิปไตย”ว่าคำๆ นี้หมายถึงอะไรกันแน่? นักปรัชญากลุ่มหนึ่งมองว่า ประชาธิปไตย กลายเป็นสัญญะที่ไร้ซึ่งความหมาย เพราะความหมายของประชาธิปไตยถูกฉกฉวยไปใช้ครอบคลุมทุกสิ่ง คำๆ นี้จึงสูญเสียอำนาจในการสื่อความและกลายเป็นคำที่ไม่ได้สื่อถึงอะไรเลยในที่สุด


           ในบทความนี้ ผู้เขียนจะพิจารณาความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย (Democracy) และคำว่า คอมมิวนิสต์ (Communism) ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าเป็นขั้วตรงข้ามของกันและกัน โดยอาศัยมโนทัศน์ทางปรัชญาของฌอง-ลุค นองซี (Jean-Luc Nancy) นักปรัชญาร่วมสมัยชาวฝรั่งเศสเป็นหลัก เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า 1) การเมืองเข้ามาปนเปื้อนกับปรัชญาและประชาธิปไตยอย่างไร  2) ประชาธิปไตย – คอมมิวนิสต์ ไม่ใช่ขั้วตรงข้ามของกันและกัน ซึ่งผู้เขียนจะกลับไปพิจารณาที่ประวัติศาสตร์ของคำทั้งสอง รวมถึงจะพิจารณาว่าเมื่อ ประชาธิปไตย – คอมมิวนิสต์ ได้ผ่านกระบวนการปรับแปลงนิยามความหมายแล้วเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นอย่างไร สำหรับเป้าหมายของบทความนี้ ผู้เขียนต้องการจะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของคำทั้งสามที่ร้อยอยู่บนฐานภววิทยาเดียวกันของนองซี


Abstract


            Political situations both in Thailand and abroad are the evidence of problem of Democracy. What does this word mean exactly? Some philosophers consider democracy as an empty signifier which has been used for representing any kind of political doctrines so democracy has lost its meaning and does not signify anything after all.


            This article tried to define the meaning of democracy and communism, which are usually known as an opposition, by referring to Jean-Luc Nancy’s philosophical concepts to clarify and answer three questions as follows: 1) How does politics contaminate with philosophy and democracy? 2) Nancy defines communism as a heart of democracy (as if their meanings are interchangeable). Therefore, the article intends to examine how these terms were transformed and intertwined. The objective of this article is to differentiate three terms: politics, communism and democracy through Nancy’s ontological perspective.

Published
Dec 15, 2022
How to Cite
JITTARUTTHA, Kamolaka. การเมือง - ประชาธิปไตย - คอมมิวนิสต์ (Politics - Democracy - Communism). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 5, n. 3, p. 247-280, dec. 2022. ISSN 2630-0133. Available at: <http://202.41.160.104/index.php/MPA/article/view/326>. Date accessed: 15 nov. 2024.