กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (Proactive strategies for the administration efficiency development of provincial administrative organizations)

  • Sorrasak Soysont Student, Ph.D program, Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University
  • Suraphol Rajbhandaraks Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


การการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการใช้กลยุทธ์เชิงรุกสำหรับพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ปฏิบัติงานในฝ่ายงานต่างกัน และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เกิดประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมประกอบด้วย การวิจัยเชิงประมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบกลยุทธ์เชิงรุกการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ใช้ในการบริหารจัดการในแต่ละภูมิภาคเป็นกลยุทธ์เชิงรุกแบบผสมระหว่าง กลยุทธ์เน้นผลงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ กลยุทธ์เน้นกระบวนการหรือระบบทำงานที่มีประสิทธิภาพ และกลยุทธ์เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ โดยในแต่ละองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วปะเทศไม่แตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบกล่าวคือมีการใช้กลยุทธ์แบบผสมทุกภูมิภาคแต่อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียดองแต่ละภูมิภาคตามวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น


การบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีประสิทธิภาพต้องใช้ทั้งความรู้ความสามารถและทักษะหลายๆ ด้านได้แก่ การรู้การบริหารแบบมีส่วนร่วม ความรู้เรื่องกฎหมายเพราะระบบราชการมีข้อบังคับ ระเบียบและประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องบริหารงานให้เป็นไปตามที่กำหนดและแนวทางในการพัฒนาการบริหารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต้องเริ่มจากการวางระบบและกลไกในการบริหารงานที่มีการกำหนดยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน มีปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ มีแผนงาน มีการพัฒนาคนให้มีความสามารถสอดคล้องกับงานที่ทำ นำเทคโนโลยีมาใช้กับการทำงานอย่างคุ้มค่า และมีการนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงนโยบายแผนงาน และการดำเนินการทุกๆ ด้าน


Abstract


            In this dissertation, the researcher examines the models for the use of proactive strategy for the administration efficiency development of provincial administrative organizations (PAOs). The data collection tool was a statistical questionnaire which consisted of descriptive statistics, number, percentage, mean and standard deviation. Inferential statistics include multiple regression analysis are included. This paper used mix method i.e., document research and field research. Also, a semi-structured interview by interviewing 6 key informants was employed as a means to collect data.


            Findings show that the model of proactive strategy that PAOs have used in each region is mixed proactive strategy between performance-based management, process-based management or an efficient work system and quality human resource development-based management. Each PAO throughout the country does not differ in the models. In other words, the mixed proactive strategy is used in all regions. Differences are in the details of each region in accordance with the culture of each locality.


            The efficient administration of PAOs must employ knowledge, abilities and various skills i.e., participative administration and legal knowledge. This is because there are rules, regulations, and related announcements by the bureaucracy. The administration must be in accordance with these regulations. The guidelines for administration efficiency development must commence from the establishment of the systems and mechanisms for administration. Strategies must be clearly formulated with philosophy, vision, mission, objectives, and work plans. Personnel must be developed to be equipped with abilities in consonance with the work to execute. Technology must be used in work in a worthy manner. The evaluation results must be used to improve the policy and work plans as well as in all aspects of operation.

Published
Jul 1, 2022
How to Cite
SOYSONT, Sorrasak; RAJBHANDARAKS, Suraphol. กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (Proactive strategies for the administration efficiency development of provincial administrative organizations). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 280-310, july 2022. ISSN 2630-0133. Available at: <http://202.41.160.104/index.php/MPA/article/view/297>. Date accessed: 15 nov. 2024.