หน้าที่ต่อความทรงจำและความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ในปอล ริเคอร์ (The duty of memory and its relationship to history in Paul Ricoeur)

  • Jesadakorn Boonkrongtham Chulalongkorn University

Abstract

บทคัดย่อ


บทความนี้ศึกษาแนวคิดเรื่องหน้าที่ต่อความทรงจำในงานเขียนเรื่อง Memory, History, Forgetting ของปอล ริเคอร์ โดยริเคอร์เสนอว่าหน้าที่ต่อความทรงจำคือหน้าที่ต่อความยุติธรรม ในด้านหนึ่ง ริเคอร์ชี้ให้เห็นว่าความทรงจำไม่ใช่สิ่งที่เราต่างคนต่างจำ แต่ความทรงจำคือการนำเสนออดีตที่อาศัยการสนับสนุนจากสังคม ด้วยเหตุผลดังกล่าว การมีความทรงจำจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงความยุติธรรมต่อคนอื่น ในขณะเดียวกัน ความทรงจำยังเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยประวัติศาสตร์เพื่อที่เราจะสามารถยืนยันความจริงร่วมกับคนอื่น ประวัติศาสตร์ทำให้เราสามารถตระหนักถึงความทรงจำบาดแผลที่ไม่ถูกจดจำโดยสังคม จากการศึกษาข้อถกเถียงของริเคอร์ บทความนี้เสนอว่าหน้าที่ต่อความทรงจำไม่ได้เป็นเพียงหน้าที่ในการจดจำข้อเท็จจริงบางอย่าง แต่เป็นหน้าที่ในการมีความยุติธรรมต่อความทรงจำของคนอื่น


Abstract


This article examines the idea of the duty of memory in Paul Ricoeur’s Memory, History, Forgetting. Ricoeur proposes the conception of the duty of memory as a duty of justice. For Ricoeur, memory is not what we remember individually, but memory is a representation of the past that requires support from the community. And if memory requires support from the other, what one remembers can be justice or injustice to the other. Also, memory is essentially related to history, because it is only in history that one can affirm the truth with others. In this way, history allows us to recognize traumatic memories that are not remembered by the community. In conclusion, this article argues that the duty of memory is not a duty to remember a particular fact, but it is a duty to do justice to the memory of the other.

Published
Aug 10, 2022
How to Cite
BOONKRONGTHAM, Jesadakorn. หน้าที่ต่อความทรงจำและความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ในปอล ริเคอร์ (The duty of memory and its relationship to history in Paul Ricoeur). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 35-68, aug. 2022. ISSN 2630-0133. Available at: <http://202.41.160.104/index.php/MPA/article/view/289>. Date accessed: 15 nov. 2024.