แนวทางการจัดตั้งหน่วยงานในรูปแบบหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ (Guideline for the establishment of “Service Delivery Unit” according to the Industrial Estate Authority of Correctional project)

  • Panisa Polkasapsin Master of Public Administration Program
  • Sirilak Tantayakul Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ กรอบแนวคิด ตลอดจนโครงสร้างการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ โดยใช้วิธีวิจัยเอกสารและวิจัยสนาม ในส่วนของการวิจัยสนามเป็นการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการจัดตั้งหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เพื่อแก้ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้กระทำผิด ในมิติที่เกี่ยวกับผู้กระทำผิดและมิติทางสังคม และเพื่อแก้ปัญหาในส่วนที่เป็นข้อจำกัดในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ อันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติของกรมราชทัณฑ์และกรมคุมประพฤติไม่ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ให้ดูแลผู้กระทำผิดภายหลังปล่อยหรือภายหลังพ้นการคุมความประพฤติ 2) โครงสร้างการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ควรจะต้องมีลักษณะเป็นหน่วยงานกึ่งอิสระที่มีความคล่องตัว แต่ยังต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและการบังคับบัญชาของปลัดกระทรวงยุติธรรม บริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการ และจัดโครงสร้างให้มีความยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้ทันกับสถานการณ์ 3) แนวทางการจัดตั้ง ประกอบด้วยการถ่ายโอนภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการจ้างงานผู้กระทำผิดของหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมมาให้กับหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ และการกำหนดบทบาทภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์


Abstract


The objectives of this research were to study the guidelines for the establishment of special service units, conceptual frameworks, as well as the management structure of special service units under the establishment of a correctional industrial estate project. By using document research methods and field research, data was collected by structured interviews from 5 key informants. The results showed that 1) the conceptual framework for the establishment of special service units according to the establishment of the correctional industrial estate project consists of 2 parts: to solve problems and obstacles in the process to support the employment of offenders in relation to offenders and on social dimensions and to solve the problem in the part that is a limitation in the implementation of the authority. Due to the Act of the Department of Corrections and the Department of Probation does not stipulate powers and duties to take care of offenders after release or after probation. 2) the administrative structure of a special service unit under the correctional estate establishment project should have the character of an agency Semi-independent (arm's length) with flexibility but still must be under the supervision and command of the Permanent Secretary of the Ministry of Justice Management in the form of a committee and structured to be flexible and able to change in time. 3) the establishment guidelines consists of the transference  of missions related to supporting the employment of offenders within the Department of Justice to a special service unit and the assignment of roles, missions, duties and responsibilities of a special service unit according to the establishment of a correctional industrial estate project.

Published
Mar 23, 2022
How to Cite
POLKASAPSIN, Panisa; TANTAYAKUL, Sirilak. แนวทางการจัดตั้งหน่วยงานในรูปแบบหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ (Guideline for the establishment of “Service Delivery Unit” according to the Industrial Estate Authority of Correctional project). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 5, n. 1, p. 332-354, mar. 2022. ISSN 2630-0133. Available at: <http://202.41.160.104/index.php/MPA/article/view/280>. Date accessed: 15 nov. 2024.