การใช้เครื่องมือรัฐตำรวจกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2562 (The use of the police state and the change of Thai politics from 1932 to 2019)

  • Dittapong Tangsopa Ph.D Program in Politics, Faculty of Political Science Ramkhamhaeng University
  • Gritthee Srigate Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University
  • Suppachai Suppapol Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University
  • Jakree Chaipinit Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเรื่อง การใช้เครื่องมือรัฐตำรวจกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1)ลักษณะของเครื่องมือรัฐตำรวจในยุคต่างๆของการเมืองไทยจากปีพ.ศ.2475-2562 (2)กระบวนการนำเครื่องมือรัฐตำรวจมาใช้ในยุคต่างๆของการเมืองไทย และ(3)ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงจากการใช้เครื่องมือรัฐตำรวจในการเมืองไทยยุคสมัยต่างๆ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บข้อมูลจากเอกสารต่างๆที่ปรากฏการใช้เครื่องมือรัฐตำรวจในทางการเมืองและการสัมภาษณ์เจาะลึกของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำมาศึกษาวิจัยในภาพรวมของการนำเครื่องมือรัฐตำรวจมาใช้ในทางการเมือง และนำมาวิเคราะห์ในเชิงตรรกะแบบนิรนัยโดยใช้กรอบแนวคิดของ หลุยส์ อัลธูแซร์ ในเรื่องของอุดมการณ์และกลไกอุดมการณ์ของรัฐและแนวคิดของ อันโตนีโอ กรัมชี่ ในเรื่องของการครองอำนาจนำ มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยผลการวิจัยพบว่า(1)เครื่องมือรัฐตำรวจมีลักษณะในแบบดั้งเดิมและแบบเครื่องมือรัฐตำรวจอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีลักษณะแบบทางตรงจากตัวผู้ครองอำนาจและแบบทางอ้อมจากกลุ่มบุคคลดำเนินการ (2)โดยถูกนำมาใช้ผ่านกลไกอำนาจรัฐในเชิงปราบปรามและเชิงอุดมการณ์ ทั้งในกฎหมายและนอกกฎหมาย (3)ทำให้เกิดผลกระทบผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมการเมืองและประชาสังคมที่ถูกบีบบังคับและครอบงำจนเกิดชุดความคิดทางการเมืองที่ขัดแย้งกันนำมาสู่ความแตกแยกทางสังคมอย่างรุนแรงและยิ่งเทคโนโลยีการสื่อสารสนเทศในยุคปัจจุบันที่ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและถูกครอบงำได้ง่ายเช่นกันผลกระทบต่อจิตใจและอุดมการณ์ของสังคมการเมืองและประชาสังคมทุกส่วน เป็นเพียงการใช้เพื่อสร้างและรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้ครองอำนาจเท่านั้น


Abstract


          The objectives of this study are (1) characteristics of the police state during 1932-2019 (2) the process of implementing the police state in Thailand and (3) impacts and adaptiveness of the police state in Thailand. This study use document analysis as a qualitative research method and in-depth interview of qualified informants. The study exams the police state in Thailand with deductive reasoning; ideology and ideological state (Louis Althusser) and hegemony (Antonio Gramsci). This study found that (1) the police state was used directly from rulers and indirectly from performing teams in both traditional and electronic ways (2) the police state was used by laws and outlaw both suppressively and ideologically (3) the police state made impacts and changing of political society and civil society in terms of political thoughts. Additionally development of information technology resulted in confirmation bias effecting to political ideology of the society.           

Published
Apr 15, 2022
How to Cite
TANGSOPA, Dittapong et al. การใช้เครื่องมือรัฐตำรวจกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2562 (The use of the police state and the change of Thai politics from 1932 to 2019). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 5, n. 1, p. 136-171, apr. 2022. ISSN 2630-0133. Available at: <http://202.41.160.104/index.php/MPA/article/view/272>. Date accessed: 15 nov. 2024.