แนวคิดคลังสมองอัตลักษณ์จีนของสีจิ้นผิง: พลังทางปัญญาแห่งการพัฒนาประเทศจีนยุคใหม่ (Xi Jinping's Think Tanks with Chinese Identity: The Intellectual Power of Modern China Development)

  • Sirilak Tantayakul Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


            บทความนี้เป็นผลงานที่ได้มาจากการศึกษาแนวคิดคลังสมองอัตลักษณ์จีนของสีจิ้นผิง ในฐานะพลังทางปัญญาแห่งการพัฒนาประเทศจีนยุคใหม่  โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา (1) ลักษณะและบทบาทของคลังสมองของจีนในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ (2) บทบาทของปัญญาชนในการริเริ่มนโยบาย (3) แนวคิดคลังสมองอัตลักษณ์จีนของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงและการฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ของประเทศจีน   ผลการศึกษาพบว่าคลังสมองของจีนมีบทบาทและอิทธิพลทางนโยบายภายใต้บริบทของการเมืองแบบชนชั้นนำ    ซึ่งจะแตกต่างจากลักษณะของคลังสมองในความหมายของตะวันตกที่มีความเป็นอิสระและสร้างบทบาทเชิงนโยบายภายใต้การเมืองแบบพหุนิยม   ในการจัดลำดับความสำคัญของคลังสมองจีน  เกณฑ์การพิจารณาได้แก่  ผลกระทบเชิงนโยบาย ความสำคัญเชิงวิชาการ อิทธิพลในวงสื่อ ผลกระทบต่อสาธารณะชน  ชื่อเสียงในระดับนานาชาติ การเติบโตและการแข่งขัน   ทุกยุคสมัยผู้นำจีนให้ความสำคัญกับบทบาทของปัญญาชนในการริเริ่มนโยบาย  และนักคิดชาวจีนมีแนวคิดเกี่ยวกับการยกระดับประเทศจีนให้ขึ้นมามีบทบาทบนเวทีโลก   วิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาคลังสมองของสีจิ้นผิง  คือ  การสร้างคลังสมองให้แข็งแกร่งด้วยอัตลักษณ์ของจีน การสร้างความร่วมมือของคลังสมองเป็นบ่อเกิดของพลังทางปัญญาแห่งการพัฒนาประเทศในยุคใหม่  โดยการให้ความสำคัญกับการยกระดับและพัฒนาคลังสมองให้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ  รวมทั้งเน้นการพัฒนาคลังสมองของจีนให้ได้รับการยอมรับในระดับโลก


Abstract


            This article aims to explore the concept of Xi Jinping’s think tanks with Chinese characteristics as the power of ideas in China development in the new era. Objectives of the study include (1) the characteristics and roles of think tanks in China’s public policy making process (2) the role of intellectuals in policy initiatives, (3) the concept of think tank with Chinese characteristics by President Xi Jinping and national rejuvenation of China. Findings show that the Chinese think tanks have roles and influence in policy cycle in the context of elite politics. This is different from definitions of western think tanks which are independent and playing roles in the context of pluralism in politics. For China, criteria in ranking the national top think tanks include policy impact, academic significance, influence in the media, public impact, international reputation, and growth & competition. Throughout the Chinese history, almost all Chinese leaders value the role of intellectuals in policy initiatives. At present, Chinese thinkers have ideas about the rising of China in the world.  Xi Jinping's vision of think tank development is to build think tanks with Chinese characteristics. The network building is source of increasing power of the knowledge for development in the new era. At the same time, the Chinese government aims at upgrading think tanks as part of national development strategy, including promote the top Chinese think tanks to be globally accepted.

Published
Dec 16, 2019
How to Cite
TANTAYAKUL, Sirilak. แนวคิดคลังสมองอัตลักษณ์จีนของสีจิ้นผิง: พลังทางปัญญาแห่งการพัฒนาประเทศจีนยุคใหม่ (Xi Jinping's Think Tanks with Chinese Identity: The Intellectual Power of Modern China Development). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 2, n. 3, p. 192-216, dec. 2019. ISSN 2630-0133. Available at: <http://202.41.160.104/index.php/MPA/article/view/155>. Date accessed: 15 nov. 2024.