การจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยใช้แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (Human Resource Management by Using Motivation)

กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5 นครราชสีมา (A Case Study of Staff of Water Resources Office, Region 5 Nakhon Ratchasima)

  • Mattana Chaisiri

Abstract

บทคัดย่อ                                                                                               


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยใช้แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5 นครราชสีมา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มประชากรจำนวน 119 ราย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 91 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงพารามิเตอร์เพื่อทดสอบสมมติฐานประกอบด้วย t-test และ f-test for one-way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านความสัมพันธ์ในการทำงาน และด้านสภาพการทำงานและความมั่นคง มีระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยใช้แรงจูงใจอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ด้านเงินเดือน ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยใช้แรงจูงใจในระดับปานกลาง  จึงควรที่จะพัฒนาและส่งเสริมนโยบายด้านดังกล่าวเพื่อยกระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยใช้แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5 ให้มากขึ้น เนื่องจากหากเจ้าหน้าที่ในสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5 มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในระดับที่มาก ก็ย่อมจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน รวมถึงเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย


Abstract                                                                                           


This research is aimed at to study human resource management by using motivation to perform tasks of 119 staffs who work at the Water Resources Office, Region 5 Nakhon Ratchasima. Questionnaires were employed as a tool for gathering data from 91 samples. Descriptive statistics used for analysis consist of frequency, percentage, mean and standard deviation, while parametric statistics to test hypothesis consist of T-Test and F-Test for One-Way ANOVA at the statistical significance level of 0.05. The results of the research showed that the motivation in performing tasks with respect to acceptance, aspects of work performance, working relationship and  working conditions and security was at a high level. While the motivation in performing tasks with respect to the progress of the job, salary, policy and administration, human resource management was at a moderate level. Therefore, the Office should develop and promote such policies to elevate a level of human resource management by using motivation to perform the tasks of staff. If staffs in the Office of Water Resources Division 5 are motivated to perform at a high level, it will inevitably affect the efficiency of the work as well as morale in performing tasks as well.

Published
Jun 11, 2019
How to Cite
CHAISIRI, Mattana. การจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยใช้แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (Human Resource Management by Using Motivation). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 2, n. 2, p. 119-143, june 2019. ISSN 2630-0133. Available at: <http://202.41.160.104/index.php/MPA/article/view/146>. Date accessed: 15 nov. 2024.