การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการขนย้าย/เคลื่อนย้ายชิ้นส่วนและข้อมูล ด้วยระบบ MIFC

Guidelines for the management of transportation / moving parts, and data about MIFC System

  • พอพันธุ์ ยุวเกียรติกุล

Abstract

อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 จากการนำชิ้นส่วนยานยนต์ประเภท CKD (Complete Knock Down) จากยุโรปและญี่ปุ่นเข้ามาประกอบเป็นรถยนต์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการผลิตและใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการทดแทนการนำเข้า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจึงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวิกฤตเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2540 ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่น กล่าวคือต้องลดจำนวนแรงงาน ลดกำลังการผลิต หยุดสายการผลิตและปิดกิจการไปบางส่วน แต่อุตสาหกรรมยานยนต์ สามารถปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยมุ่งเน้นการผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวและนักลงทุน มีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจดีขึ้นส่งผลให้การจำหน่ายยานยนต์ภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์มีการขยายตัวและมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ดังนั้น บริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทยานยนต์ที่ผลิตเครื่องยนต์ จึงต้องพยายามปรับปรุงและหาวิธีการจัดการต่างๆ เพื่อให้รองรับกับการปรับตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนี้ตามไปด้วย
วิธีการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการขนย้าย/เคลื่อนย้ายชิ้นส่วนและข้อมูลด้วยระบบ MIFC รวมถึงปัญหา แนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการเก็บข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าข้อมูลของบริษัท และจากแหล่งค้นคว้าต่างๆ เช่น เอกสาร วารสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องทั้งระดับบริหารและปฏิบัติการ ซึ่งการสัมภาษณ์เชิงลึกจะทำให้ผู้ศึกษาวิจัย ได้ข้อมูลทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจากประสบการณ์ผู้ให้สัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า ความผิดปกติของแต่ละกระบวนการ และสามารถทราบถึงข้อมูลต่างๆที่มีความผิดปกติได้ ก่อให้เกิดความสูญเปล่าด้านต้นทุนและกระบวนการผลิต แนวทางในการหาปัญหาโดยนำระบบ MIFC เข้ามาช่วยในการมองเห็นสิ่งผิดปกติของทั้งกระบวนการได้อย่างชัดเจนเพื่อลดความสูญเปล่า เพิ่มผลิตภาพ เพิ่มผลกำไรให้มากขึ้น
คำสำคัญ: การบริหารจัดการการขนย้าย/เคลื่อนย้ายชิ้นส่วนและข้อมูล


Thailand automotive industry has begun since 1961 by import CKD (Complete Knock Down) from Europe and Japan for car assembles. Hereafter in 1971 the government had policy to promote production and use of local parts instead of imports consequently Thailand’s automotive industry had started growth continuously. Until economic crisis in 1997 like other industries automotive industry had effect as well such as manpower reduction, production volume reduction, stop production line and some had to close the business. Fortunately the automotive industry have quick adaptation by changing production to more export then when economy had begun to recovery and investor confidence regained sell of domestic market increased , again automotive industry had expansion and become more competitiveness. Therefore as Siam Toyota Manufacturing Co., Ltd. as one of automotive industry company. It always find better way to improve and manage along with fast speed economy growth as well.
This study purpose is to fine way to manage material and parts transfer by information utilization through MIFC system and also to find problems and countermeasures to more efficiency. Study method is conducted by company data research and also other sources such as document, magazine research papers and concerned websites. Moreover to obtain deep information, study also conduct in-depth interview the concerned persons in managerial level and operational level.
The study found that abnormalities of each process that cause loss of cost and production can be seen by information. The way to solve problem by adopting MIFC to visualize abnormalities to reduce waste, improve productivity and make more profit.

Published
Oct 21, 2016
How to Cite
ยุวเกียรติกุล, พอพันธุ์. การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการขนย้าย/เคลื่อนย้ายชิ้นส่วนและข้อมูล ด้วยระบบ MIFC. Journal of Logistics and Supply Chain Management Ramhkamhaeng, [S.l.], v. 3, n. 1, oct. 2016. ISSN 2351-0722. Available at: <http://202.41.160.104/index.php/Logistic/article/view/79>. Date accessed: 28 dec. 2024.