การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ กรณีศึกษา บริษัททิปโก ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)

Title of the independent research: The optimize transportation by Container Case Study in Tipco Food Co., Ltd.

  • ปุณณวิช ไหมบุญแก้ว

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ ศึกษากระบวนทำงานของการขนส่งสินค้า โดยตู้คอนเทนเนอร์ ,ศึกษาปัญหาอุปสรรคของการขนส่ง และศึกษาถึงรูปแบบการนำการขนส่งแบบผสมหรือที่เรียกว่า การขนส่งแบบ Multimodal เข้ามาใช้ ซึ่งในการศึกษานี้เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการขนส่ง ข้อดี ข้อเสียของการขนส่งสินค้าโดยตู้คอนเทนเนอร์ในรูปแบบของกระบวนการเดิมและการนำกระบวนการขนส่งแบบอื่นเข้ามาใช้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือการสัมภาษณ์แบบสอบถามในรูปแบบของคำถามปลายเปิดที่มีส่วนของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และจากการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูล
วิธีการในการศึกษาครั้งนี้เป็นการสัมภาษณ์พนักงานที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการขนส่งคือ แผนกโลจิสติกส์ซึ่งมีการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในส่วนนี้จำนวน 10 ท่าน และเจ้าหน้าที่ในส่วนของแผนกคลังสินค้า จำนวน 6 ท่าน รวมทั้งมีการสังเกตการณ์ของผู้วิจัยเองในกระบวนการทำงานในรูปแบบต่างๆตามวัตถุประสงค์ และจากการศึกษาจากข้อมูลย้อนหลังของการทำงานในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกันขอกระบวนการขนส่งสินค้า เมื่อได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ก็จะมีการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์มาประมวนผลและประเมินผลของกระบวนการทำงานของการขนส่ง เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นนำไปปรับหรือประยุกต์ใช้กับทฤษฏีต่างๆเพื่อให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และทำการสรุปผลการวิจัย
ผลการศึกษาพบว่าในกระบวนการขนส่งสินค้ามักจะมีความผิดพลาดในขั้นตอนของการรับตู้และการตรวจสอบตู้เนื่องจากพนักงานขับรถไม่มีการตรวจสอบก่อนรับตู้จึงได้มีการแก้ไขโดยการทำเป็นเอกสารเป็นหลักฐานเพื่อให้พนักงานขับรถมีการตรวจสอบตู้ก่อนการรับตู้ตามเอกสารการดูสภาพตู้ ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคของการขนส่งเกิดจากปัจจัย 3 ด้านคือ ด้านบุคลากร ,ด้านยานพาหนะ,และด้านเส้นทาง โดยมีการแก้ปัญหาในด้านบุคลากรเนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่ที่อยู่ในส่วนของการจัดสิ่งของบรรจุในตู้สินค้านั้นเป็นพนักงานใหญ่ยังขาดประสบการขาดการฝึกฝนทำให้เกิดความเสียหายของสินค้าอยู่บ่อยครั้งก็ได้มีการส่งพนักงานเหล่านี้ไปฝึกอบรมการปฏิบัติงานในส่วนที่พนักงานรับผิดชอบเพื่อให้เกิดความชำนาญและปลอดภัยในการทำงานและปลอดภัยในส่วนของสินค้า ด้านยานพาหนะจะเป็นปัญหาในส่วนของแคร่ที่ใช้รองตู้คอนเทนเนอร์เนื่องจากมีสภาพที่เก่าทำให้ไม่สามารถซับแรงกระทบกระเทือนได้มากพอก็ได้มีการแก้ปัญหาโดยการซ่อมบำรุงตามรอบของตัวแคร่รองตู้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ,ด้านเส้นทางเนื่องจากการขนส่งสินค้าในเส้นทางถนนเพชรเกษม ทั้งขาขึ้นกรุงเทพมหานครและขาล่องลงใต้ สภาพของเส้นทางนั้นค่อนข้างที่จะมีการชำรุดเสียหายอยู่ตลอดเส้นทาง ทำให้การขนส่งสินค้านั้นมักจะเกิดความเสียหายจากการตกลงหลุมหล่อของตัวรถอยู่บ่อยครั้ง จึงได้มีการแก้ปัญหาเหล่านี้โดยการนำกระดาษลูกฟูกขนาดต่างๆมารองที่พื้นตู้คอนเทนเนอร์อีกหนึ่งชั้นก่อนที่จะมีการบรรจุสินค้าเข้าตู้เพื่อรองรับแรงกระแทกจากการลงหลุมหรือสภาพพื้นผิวที่ไม่เรียบ ซึ่งผลของการนำมาใช้ทำให้สินค้ามีความเสียหายน้อยลงทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าที่เสียหายกลับโรงงานน้อยลง ส่วนการขนส่งรูปแบบทางเลือกนั้นจะเป็นการขนส่งแบบผสมหรือที่เรียกว่า Multimodal ซึ่งการขนส่งแบบนี้ในการวิจัยครั้งนี้ใช้เป็นรูปแบบของการขนส่งผสมกันระหว่างรถบรรทุกกับรถไฟซึ่งผลจากการใช้รูปแบบนี้ทำให้สินค้าไม่ความเสียหายเพราะรถไฟมีความนุ่มนวลกว่าการขนส่งทางถนนอย่างเดียวค่อนข้างมากและในการขนส่งในแต่ละเที่ยวสามารถขนส่งได้ในปริมาณทีละหลายๆตู้ทำให้ประหยัดต้นทุนเพิ่มขึ้นและสินค้าถึงที่หมายในเวลาที่แน่นอนเนื่องจากการขนส่งทางรถไฟเป็นการขนส่งที่จะพ่วงไปกับขบวนรถโดยสารทำให้การขนส่งไม่มีความล่าช้าซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบการขนส่งที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้มากที่สุดในการขนส่งสินค้าโดยตู้คอนเทนเนอร์


The objectives of this research were to study the transport of products via container logistics, to look into the logistics problems and also, to study about the combined transport, which is called multimodal. Moreover, this study aimed to analyze the factors that could affect the transportation including advantages and disadvantages of container logistics when being done in the same process as usual and when in other types of transport as well. This study was a qualitative research and its research instruments included interview with open-ended questions regarding the study and participant observation to gather the information.
A sample of this study was selected from the employees that worked in the logistics field. 10 of them were logistics operating officers and 6 of them worked in the warehouse department, they were given an interview concerning this study in conjunction with the observation by the researcher himself. When the previously mentioned process completed, the data obtained from interview and observation was used to analyze and evaluate the procedures of transport in hope that, the results could be used for further development or adapted to the existing theories for a more efficient outcome and to conclude this research.
The findings indicated that in the process of container logistics, the mistakes usually occurred when receiving and inspecting containers because the courier did not check those containers in the first place. The solution to that is, creating a documentary evidence to make those couriers check the containers first before retrieving according to the container inspection document. In the matter of logistics problems, the factors that affect the transportation are the personnel, the vehicles and the transport route. The problem on the personnel is that most of the officers who work on the products stuffing lack experiences which result in products being broken frequently so these officers should participate in more trainings to increase their skills and expertise and more safety both in working and the products themselves. On the vehicles, the problems lay within the pallets in the containers. Since they are not in a good condition, they cannot absorb the impact sufficiently so, to solve this problem, the pallets need to be fixed and taken care of so that they can work more effectively. About the transport route, the products transportation, both an upturn to Bangkok and a downturn to the south, has to be done on Phetkasem road that is in a state of disrepair so, results in the products getting damaged from the vehicles being driven on a rough road surface. That is why the corrugated fiberboard is brought in and used as padding to the floor of the container before loading in the products to absorb the impact from driving on a rough surface and it results in less damage which also helps decrease the costs of sending the damaged products back to the factory as well. However, the alternative transport is also possible, which is in the multimodal mode. This form of transport is a combination between trucks and rails, which result in products not getting damaged because rails offer a smoother drive than when on the road and it can also be done with a lot of products at a time, would reduce costs and deliver on time which is considered to be the most efficient type of container logistics.


 

Published
Oct 20, 2016
How to Cite
ไหมบุญแก้ว, ปุณณวิช. การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ กรณีศึกษา บริษัททิปโก ฟูดส์ จำกัด (มหาชน). Journal of Logistics and Supply Chain Management Ramhkamhaeng, [S.l.], v. 3, n. 1, oct. 2016. ISSN 2351-0722. Available at: <http://202.41.160.104/index.php/Logistic/article/view/45>. Date accessed: 28 dec. 2024.